รู้มั้ย...ทำไมหนูขี้กลัว
เด็กวัย 2 ขวบเขามักจะกลัวอะไรที่สุดแสนจะไม่คาดคิดเชียวล่ะ เช่น เจ้าด่างข้างบ้าน ฟ้าร้อง สัตว์ประหลาด ตัวตลก ซากไดโนเสาร์ในพิพิธภัณฑ์ ทราย น้ำ แต่การทีเด็กวัยนี้จะกลัวอะไรสักอย่างโดยไม่มีเหตุผล ไม่ใช่เรื่องผิดปกติอะไรเพราะ... เด็กสองขวบยืนหยัดได้ด้วยตัวเอง แกสามารถวิ่งได้อย่างแข็งขัน ช่างจ้อมากขึ้น ทำให้แกสามารถทำอะไรตามใจปรารถนาตัวเองได้ รู้สึกเป็นอิสระจากการถูกควบคุมมากขึ้น เพราะพ่อแม่ยอมปล่อยให้แกวิ่งไปทางโน้นที ทางนี้ที อีกใจหนึ่งก็รู้สึกไม่ปลอดภัยและมั่นคงสักเท่าไหร่ ตรงที่ถูกสอนให้เริ่มรู้จักระมัดระวังสิ่งแวดล้อมรอบตัวมากขึ้น เริ่มจะต้องแยกจากพ่อแม่ ตัวก็ยังเล็กจนต้องแหงนคอตั้งบ่าเพื่อคุยกับผู้ใหญ่ น้องหนูจึงต้องคอยระวังตัวด้วยว่าจะถูกคุกคามจากสิ่งต่างๆ รอบกายหรือไม่ และเพื่อทดแทนความรู้สึกไม่มั่นใจนี้ สิ่งรอบกายอยู่ในอำนาจของแก (To feel in control) จะได้เดาว่าอีกไม่กี่อึดใจข้างหน้าจะเกิดอะไรขึ้น เพราะฉะนั้นการแสดงความกลัว เพื่อหยุดสิ่งแวดล้อมให้ห่างจากตัวเอง จะทำให้แกรู้สึกว่าควบคุมได้ แต่ถ้าตัวตลกหรือหุ่นยนต์โผล่พรวดมาทักทายแบบประชิดตัว หวังจะให้เป็นเรื่องสนุก ก็อาจทำให้น้องหนูร้องไห้จ้าขึ้นมาได้ความกลัวจึงเป็นพัฒนาการอีกขั้นของเด็กวัยนี้ ถ้าปีที่แล้วคุณเห็นลูกเล่นน้ำทะเลอย่างสนุกสนาน แต่มาปีนี้ไม่ยอมให้เท้าแตะผืนทรายเลย ก็ไม่ต้องแปลกใจนะคะรอให้ถึง 3 ขวบ แล้วค่อยมาดูกันอีกที แต่ถ้าไม่ใช่เรื่องของพัฒนาการตามวัย คุณต้องช่วยลูกหาสาเหตุก่อนแก้ไขแล้วล่ะค่ะ
เจ้าวัยซนจึงอยากให้ทุก
กลัวจากความกังวล เช่น พอย้ายมาอยู่บ้านหลังใหม่ ลูกกลัวแมวข้างบ้านขึ้นมาเฉยๆ ทั้งที่ก่อนหน้านี้ไม่กลัว แสดงว่าน้องหนูไม่ไว้ใจสิ่งแวดล้อมใหม่เอาเสียเลย กลัวตามพ่อแม่ ถ้าพ่อแม่กลัวอะไร ลูกมักจะกลัวสิ่งนั้นด้วย เพราะแกค่อยๆ ซึมซับโดยไม่รู้ตัว
กลัวแบบฝังใจ เช่น ลงโทษด้วยการจับขังไว้ในห้องมืด ห้องที่เฉอะแฉะ ปราบตัว " ขี้กลัว "
* ยอมรับความกลัวของลูก และหาสาเหตุว่าลูกกลัวเพราะอะไรกันแน่
* หาหนังสือภาพเกี่ยวกับสิ่งที่ลูกกลัวมาอ่านกับลูก เพื่อจะได้รู้อีกแง่มุมหนึ่งว่าเจ้าตัวนี้น่ารักมากกว่าน่ากลัวเสียอีก เช่น หมา ลูกเจี๊ยบ เต่า
* เล่านิทานที่จบลงด้วย พระเอกสามารถปราบผู้ร้าย(สิ่งที่ลูกลัว) ได้อย่างไร เช่น ...แล้วปีเตอร์แพนก็ร่ายคาถา "เราเป็นเด็กดี" ทันใดนั้น ร่างของเจ้าปีศาจก็หายไป...
* ถ้ากลัวที่สูง ให้หาชุดของเล่นสำหรับเด็กที่ไม่สูงมากนัก เช่น เก้าอี้ ชิงช้า บ้านเด็ก เพื่อลดปัจจัยที่มีผลต่อความรู้สึกกลัวของลูก
* ทำตัวอย่างลูกให้เห็นว่าสิ่งนั้นไม่น่ากลัว แล้วค่อยให้ลูกลองทำตามด้วยความสมัครใจ เช่น ลูบหัวหมา จับมือกับตัวตลก ก่อกองทราย
* สร้างอุปกรณ์วิเศษล่าสัตว์ประหลาด เช่น ไฟฉายพิฆาตมาร เสื้อเกราะปราบอสูร วิธีนี้...ไม่ได้ผล
* อย่าใช้ความกลัวของลูกมาขู่ เพราะอาจยิ่งทำให้แกกลัวแบบฝังใจได้
* อย่าบังคับให้ลูกเลิกกลัวเดี๋ยวนั้น เพราะแกกลับจะรู้สึกกลัวหนักเข้าไปอีก
* อย่าท้าทายเจ้าวัยเตาะแตะด้วยวาจาน่าหดหู่ เช่น "ทำไมลูกขี้ขลาดอย่างนี้" หรือ "อย่างน้องพิมเนี่ย ไม่มีวันทำ.......ได้หรอก" วิธีเหล่านี้เท่ากับคุณหาปมด้อยมาฝากลูกเข้าให้แล้ว
ข้อมูลจาก : นิตยสาร Modern Mom ฉบับที่ 84 เดือนตุลาคม พ.ศ.2545
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น